เชื่อว่าทุกคนมีเสื้อตัวโปรด แจ็กเก็ตตัวโปรด หรือเดรสตัวโปรดที่ใส่แล้วดูดี มั่นใจ เลยชอบที่จะใส่ออกไปข้างนอกบ่อยๆ ไม่มีเบื่อ แต่ก็มักจะเจอคนรอบข้างทักว่า “ใส่เสื้อตัวนี้อีกละ” “มีเสื้อตัวเดียวหรอ” หรือ “ใส่ซ้ำบ่อยๆ ซักบ้างปะเนี่ย” จนอายไม่กล้าหยิบมาใส่อีก
บางคนอาจจะมองว่าเรื่องแค่นี้ไม่เห็นต้องแคร์เลย ก็ที่บ้านมีเครื่องซักผ้า จะใส่ซ้ำก็ไม่เห็นแปลกหรือเปล่า? แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจ การถูกทักว่าใส่เสื้อผ้าซ้ำบ่อยๆ อาจทำให้รู้สึกแย่ อาย กลัวคนจำได้ จนไม่กล้าหยิบมาใส่อีก และต้องหาซื้อเสื้อผ้าใหม่มาเพิ่มเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ใครจำได้ หรือทุกวันนี้เวลาจะลงรูปในโซเชียลมีเดีย หลายคนก็กังวลว่าจะใส่เสื้อผ้าซ้ำกับรูปอื่นๆ ที่ลงไป ทำให้ต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่อยู่เรื่อยๆ
แต่ปัญหานี้ไม่ได้ส่งผลต่อความมั่นใจ ความชอบส่วนตัว หรืออิสระในการแต่งตัวเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดการบริโภค fast fashion มากเกินจำเป็นด้วย หรือก็คือ ‘เสื้อผ้าตามกระแส’ ที่มีคุณภาพต่ำ พังง่าย เน้นใส่ไม่กี่ครั้งก็ตกกระแสไป เนื่องจากเป็นการออกแบบจากกระแสที่มาเพียงระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นก็ออกคอลเล็กชันใหม่เรื่อยๆ ทำให้อุตสาหกรรมแฟชันหรือแบรนด์เสื้อผ้าบางแบรนด์ ถูกประณามเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมจากการผลิตเสื้อผ้า fast fashion ที่มากเกินไป ซึ่งเป็นการผลิตที่ทิ้ง carbon footprint เอาไว้บนโลกมากมายมหาศาล ทั้งยังมีการกดขี่แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมอีกด้วย
การรณรงค์งดบริโภคเสื้อผ้า fast fashion หรือเน้นบริโภคเสื้อผ้าอย่างยั่งยืน จึงกลายเป็นที่พูดถึงกันในสังคมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงมีคนดังมากมายที่ออกมาเป็นกระบอกเสียงในเรื่องนี้ อย่างนักแสดงสาวชื่อดัง เอมมา วัตสัน ก็เคยออกมาพูดว่า “การใส่เสื้อผ้าที่ไม่ใช่แบรนด์เนมหรือเสื้อผ้าราคาถูก ไม่ได้แปลว่าคุณจน โปรดจำไว้ว่าคุณมีครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดู ไม่ใช่ทำให้คนอื่นประทับใจตลอดเวลา”
ในประเทศไทยก็มีการพูดถึงในโลกโซเชียลอยู่หลายครั้ง และก็เป็นกระแสอีกครั้งหลังจากที่ ลูกกอล์ฟ คณาธิป สุนทรรักษ์ ได้โพสต์รูปในอินสตาแกรมส่วนตัว โดยมีข้อความรณรงค์ให้ทุกคนหันมาใส่เสื้อผ้าซ้ำหรือใช้ของมือสองกันมากขึ้น ไม่ต้องตามเทรนด์ของโลกตลอดเวลา หรือจะถ่ายรูปลงอินสตาแกรมและติดแฮชแท็ก #Wearวนไป เพื่อให้เห็นว่าเสื้อผ้าหรือสิ่งของที่เราซื้อมา มีอายุการใช้ที่ยาวนาน และชวนทุกคนไปศึกษาข้อมูลว่า อุตสาหกรรมแฟชันส่งผลกระทบต่อโลกเรายังไงบ้าง
และเนื่องจากแคมเปญ #Wearวนไป ชวนให้ผู้คนกล้าใส่เสื้อผ้า หรือกล้าลงรูปที่ใส่เสื้อตัวเดิมๆ ในโซเชียลมีเดียมากขึ้น วันนี้ The MATTER ก็เลยอยากมาแนะนำวิธีที่จะทำให้เราจัดการกับเสื้อผ้าที่มีอยู่ได้ดีขึ้น จนสามารถนำมาใส่วนไปได้หลายๆ ครั้ง เพื่อเป็นการลดการบริโภค fast fashion ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย
สังเกตชนิดผ้าให้ดี เพื่อการถนอมที่ถูกวิธี
เสื้อผ้าแต่ละตัวมีเนื้อผ้าแตกต่างกันไป เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ผ้าชีฟอง ผ้าโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดก็มีการดูแลรักษาที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการซัก การตาก หรือการจัดเก็บ อาจจะดูได้จากสัญลักษณ์บนป้ายที่เสื้อผ้า เนื้อผ้าบางชนิดทนต่อแดดแรงๆ ได้ เนื้อผ้าบางชนิดตากแดดแรงแล้วจะสีจะซีด หรือเนื้อผ้าบางชนิดไม่ควรซักบ่อย เพราะจะหดเร็ว เสื้อบางตัวควรกลับด้านซัก เพราะลายสกรีนจะลอกไว ซึ่งการสังเกตชนิดของเสื้อผ้าที่เราใส่และดูแลอย่างถูกวิธี จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของเสื้อผ้าตัวนั้นให้อยู่ได้นานขึ้น
mix and match ให้เกิดสไตล์ใหม่
เดิมทีเราอาจจะใส่เสื้อตัวโปรดกับกางเกงสีดำบ่อยๆ ทำให้มองแล้วรู้สึกเบื่อ อยากทิ้ง หรือมีคนทักว่าใส่ซ้ำ แต่เมื่อลองนำเสื้อตัวนั้นไปจับคู่กับเสื้อผ้าชิ้นอื่นดู เพิ่มเลเยอร์เข้าไปอีกนิดหน่อย เช่น เสื้อคลุมหรือเสื้อกั๊ก เพียงเท่านี้ก็จะรู้สึกเหมือนได้เสื้อใหม่ แฟชันใหม่ ที่ดูแปลกตามากขึ้น จนคนจำไม่ได้ว่าเป็นเสื้อตัวเดิม
พับเก็บให้มองเห็นง่าย จะได้นำมาใส่บ่อยๆ
เคยรื้อตู้เสื้อผ้าออกมาแล้วสงสัยมั้ยว่า “เอ๊ะ นี่เราเคยซื้อเสื้อตัวนี้ด้วยหรอเนี่ย” เพราะไม่เคยเอาออกมาใส่เลย นั่นเป็นเพราะเวลาเราเก็บเสื้อผ้าในที่ที่มองไม่ค่อยเห็น เราจะลืมไปว่าเคยมีเสื้อผ้าตัวนั้นอยู่ และเผลอซื้อผ้าใหม่อยู่เรื่อยๆ เพราะคิดว่าไม่มีอะไรจะใส่แล้ว ทางที่ดีลองนำเสื้อผ้าเหล่านั้นออกมาแขวนหรือพับเรียงกันใหม่ในให้มองเห็นง่าย เพื่อสะดวกต่อการทำมาใส่ให้บ่อยครั้งยิ่งขึ้น
เก็บถูกวิธี ใช้ได้หลายปีแน่นอน
การเก็บก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ถนอมเสื้อผ้าให้ไม่พังหรือเก่าเร็วเกินไป อย่างถ้าห้องหรือตู้เสื้อผ้าของเรามีความชื้นมาก การจัดเก็บแบบพับหรือกองเอาไว้ทับๆ กัน อาจทำให้เสื้อผ้าขึ้นราเป็นจุดดำๆ ได้ ซึ่งยากต่อการกำจัดออก และทำให้ต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยเหตุนี้ เราควรจัดเก็บในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือหากเสื้อผ้าตัวไหนมีราคา เช่น เดรสหรือสูท ก็ควรจัดเก็บให้ดีเป็นพิเศษ ด้วยการใส่ถุงผ้าคลุมสูทโดยเฉพาะ
ลองซ่อมดูก่อน อย่าใจร้อนรีบทิ้ง
เสื้อผ้าบางตัวอาจมีผุพังไปตามกาลเวลา แต่ก่อนจะทิ้งลองดูก่อนว่าเราพอจะซ่อมได้หรือเปล่า บางตัวแค่เปลี่ยนซิป ปะรูที่ขาด เอาเอวเข้า ก็พอจะใส่ได้แล้ว หรือถ้านำไปดัดแปลงให้เป็นเสื้อครอป กางเกงขาสั้น หรือเสื้อกล้ามได้ ก็ทำให้เราไม่ต้องทิ้ง แถมยังได้เสื้อตัวใหม่โดยไม่ต้องซื้อเลย
ใส่ไม่ได้ ซ่อมไม่รอด เอาไปทำอย่างอื่นต่อได้
หากเสื้อผ้าที่มีอยู่ใส่ซ้ำไม่ได้จริงๆ แต่ก็ไม่อยากทิ้งหรือบริจาคเพราะเสียดายของ ลองเอาไปประยุกต์เป็นอย่างอื่นต่อดูก็ได้นะ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผ้าขี้ริ้วหรือเสื้อนอนเท่านั้น หากเสิร์ชใน youtube หรือ pinterest ก็เห็นว่ามีไอเดียที่มาจากเสื้อผ้าเก่าๆ เยอะแยะไปหมด เช่น กระเป๋าผ้า กระเป๋าใส่เหรียญ ผ้าคาดผม ผ้าเช็ดมือ หรือของตกแต่งห้อง แม้ไม่สามารถ #Wearวนไป แต่เราสามารถใช้วนไปได้เหมือนกัน
สุดท้าย อยากให้สังคมมองเรื่องการใส่เสื้อผ้าซ้ำให้กลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น เพราะทุกคนมีเสื้อผ้าตัวโปรดเป็นของตัวเอง ซึ่งการนำมาใส่ซ้ำๆ ก็เป็นการตอกย้ำคุณค่าของเสื้อผ้าตัวนั้นได้เป็นอย่างดี และก่อนบริโภคแต่ละครั้ง อาจตั้งคำถามกับคำว่า “ของมันต้องมี” เพราะสุดท้ายของที่เรามองว่าต้องมีนั้น อาจอยู่กับเราได้เพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ แต่กลับทิ้งผลกระทบต่อโลกเอาไว้ระยะยาว
Slow Fashion คืออะไร ? Slow fashion ก็คือแนวคิดตรงข้ามของ Fast Fashion นั่นเอง จุดเริ่มต้นของแนวคิด Slow Fashion ขั้วตรงข้าม Fast Fashion ต้องขอเกริ่นที่มาของ Fast Fashion ให้เข้าใจกันก่อน.. Fast Fashion คือเสื้อผ้าที่ผ่านการผลิตแบบเร่งด่วนในปริมาณมากๆ ใช้ต้นทุนต่ำเพื่อให้ผู้คนสามารถช็อปปิ้งเสื้อผ้าได้ในราถูก ด้วยกระแสทุนนิยมที่เน้นการผลิตเสื้อผ้าแบบเร็ว ๆ หวังยอดขายให้ได้ในปริมาณมาก แข่งขันกันกดราคาให้สินค้ามีราคาถูก แต่กลับไม่ใส่ใจเรื่องของคุณภาพของวัสดุที่นำมาผลิตสินค้า มีทั้งวัสดุที่เบียดเบียนสัตว์และสิ่งแวดล้อม วัสดุที่ไม่มีคุณภาพก็ย่อมใส่ได้ไม่นาน ซื้อใส่เพียงครั้งเดียวแล้วก็ทิ้งแบบไม่เสียดาย กลายเป็นขยะที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมากมายมหาศาล สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติ ทำร้ายโลก
งั้นลองตั้งคำถามง่าย ๆ กับตัวเองกันดูก่อน.. เราเคยถามตัวเองมั้ย.. ว่าในหนึ่งเดือน เราซื้อเสื้อผ้าใหม่ไปทั้งหมดกี่ตัว ? คำพูดยอดฮิตที่บอกว่า ไม่มีเสื้อผ้าจะใส่แล้ว.. แต่เปิดตู้เสื้อผ้าอีกที เสื้อผ้าล้นทะลักออกมาจากตู้ !
ยุคนี้เรามักจะตามเทรนด์แฟชั่น แต่งตัวตามเทรนด์ตามกระแสแค่เพียงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น มาไวไปไวยิ่งกว่า Flash Sale อะไรที่กำลังฮิตอยู่ ก็สามารถตกอันดับได้เพียงชั่วข้ามคืน บางคนใส่แค่หนึ่งครั้งหรือสองครั้งก็โยนทิ้งเข้าตู้เสื้อผ้าและไม่คิดจะใส่ซ้ำอีกแล้ว
นี่รู้มั้ย..ว่ามันเป็นสาเหตุที่ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอส่งผลกระทบต่อโลกเป็นอันดับต้น ๆ กันเลยทีเดียว คิดไม่ถึงใช่มั้ยว่าการที่เราใส่เสื้อผ้าชิวชิว เลือกซื้อเสื้อผ้าชิวชิวของเรา มันกระทบไปถึงสังคม สิ่งแวดล้อมและโลกของเราในสารพัดด้านเลย
Fast Fashion มันสร้างปัญหายังไง ?
มาเริ่มกันที่ปัญหาเรื่องแรก
เหตุผลทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี่เอง ทำให้คำว่า “slow fashion” ถือกำเนิดขึ้น
ซึ่งแนวคิดของหลักการนี้คือ แฟชั่นช็อปช้า ๆ คุณภาพดีที่ใส่ได้นาน
ปัจจุบันก็มีประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล กับแคมเปญ #Wearวนไป การใส่เสื้อผ้าซ้ำ ไม่ใช่เรื่องแปลก
เริ่มมีหลายๆคนออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องของการใส่เสื้อผ้าซ้ำอย่างมากมาย มีการร่วมรณรงค์ชวนใส่เสื้อผ้าซ้ำหรือเสื้อผ้าที่ตัวเองมีอยู่ พร้อมมาแชร์เรื่องราวที่ว่าด้วยการใส่เสื้อผ้ากันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแคมเปญนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ครูลูกกอล์ฟ หรือ คณาธิป สุทรรักษ์ ครูสอนภาษาและเจ้าของสถาบัน Angkriz ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวและในอินสตาแกรมเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของ “การใส่เสื้อผ้าซ้ำ โดยข้อความระบุว่า
“ลูกกอล์ฟอยากชวนทุกคนมาสร้างค่านิยมเรื่องการใส่เสื้อผ้าซ้ำวนไปเรื่อยๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม หรือใช้ของมือสองเป็นหลัก เพื่อให้คนเห็นว่าเราไม่ต้องตาม collection ใหม่ๆ ของโลกตลอดเวลา เพราะเสื้อผ้าหรือสิ่งของที่เราซื้อมา มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่วันนี้เริ่มง่ายๆ เวลาที่ทุกคนใส่เสื้อผ้าซ้ำ หรือหยิบจับเสื้อผ้าเก่า ๆ มาเป็นลุคใหม่ ช่วย Hashtag #wearวนไป ใน IG หรือ FB นะคะ ถ้าลูกกอล์ฟเห็นจะเข้าไปมอบหัวใจให้ และลองหาข้อมูลว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นส่งผลกระทบต่อโลกยังไงบ้างนะคะ” ซึ่งจุดประสงค์ของข้อความของครูลูกกอล์ฟคือต้องการให้คนรณรงค์และแชร์เรื่องราว “ใส่เสื้อผ้าที่มีวนไปเรื่อยๆ”
ซึ่งหลังจากที่มีการโพสต์ข้อความของครูลูกกอล์ฟแล้ว ในเวลาต่อมา ชาวโซเชียลก็ต่างพากันเข้าร่วมแคมเปญดังกล่าวเป็นจำนวนมาก มีการติดแฮชแทก #Wearวนไป ซึ่งก็มีหลายคนที่มาโพสต์และแชร์เรื่องราวผ่านการระบายความในใจ ว่าที่ผ่านมามักถูกบูลลี่ในเรื่องของการใส่เสื้อผ้าซ้ำ เช่นคำว่า ใส่เสื้อตัวนี้อีกแล้วหรอ? , กางเกงแห้งทันหรอ ? เป็นต้น พร้อมโพสต์ภาพและแสดงความคิดเห็นด้วยว่าใส่เสื้อผ้าซ้ำไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นเรื่องของความชอบ ความสะดวกของแต่ละบุคคล
นับว่าเป็นการเปิดประเด็นที่ทำให้เรื่องของอุตสาหกรรมแฟชั่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปัญหาเรื่องของการใช้แรงงานดังขึ้นมาอีกครั้ง
แล้วเราล่ะ เราจะสามารถแต่งตัวแบบช่วยโลกได้ยังไงบ้าง แนวทางของแฟชั่นที่ยั่งยืน ?
.